วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

Present Continuous Tense

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Present Continuous Tense

หลักการใช้


1. ใช้กล่าวเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นขณะที่พูดอยู่ หรือในระหว่างอาทิตย์นั้น เดือนนั้นก็ได้ ซึ่งอาจจะมีคำเหล่านี้อยู่ด้วยก็ได้
now / right now  ตอนนี้
at the moment  ตอนนี้
หลักการแปล ให้แปลรวบ is am are กับกริยาที่เติม ing ว่า ” กำลัง….”
  • am studying  hard, John. จอห์น ฉันกำลังเรียนหนักนะ (ไม่ใช่ขณะนี้ แต่เป็นพักนี้)
  • Most students are using mobile phones. นักเรียนส่วนใหญ่กำลัง(นิยม)ใช้โทรศัพท์มือถือ (ไม่ใช่ขณะนี้ แต่เป็นปัจจุบันนี้)
  • He is driving a car. เขากำลังขับรถ
  • She‘s eating an apple. หล่อนกำลังกินแอปเปิ้ล
  • It is raining at the moment. มันกำลังฝนตกขณะนี้ (ฝนกำลังตก)
  • A cat is sleeping in the room. แมวกำลังนอนหลับในห้อง
  • You are sitting on my book. คุณกำลังนั่งบนหนังสือของฉัน
  • We are running right now. พวกเรากำลังวิ่งขณะนี้
  • They are going to school. พวกเขากำลังไปโรงเรียน    อ่านต่อ

Present Perfect Tense

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ present perfect tense

หลักการใช้


1. ใช้กับเหตุการณ์เกิดขึ้นในอดีต ดำเนินมาจนถึงขณะนี้ และจะต่อเนื่องไปในอนาคต และจะมีสองคำนี้ประกอบอยู่ด้วย คือ
  • for   ฟอ เป็นเวลา (กี่นาที กี่ชั่วโมง กี่วัน กีสัปดาห์ กี่ปี)
  • since ซินซ ตั้งแต่ (ตั้งแต่ชั่วโมงไหน วันไหน สัปดาห์ไหน เดือนไหน ปีไหน)
She has studied English since July.
หล่อนเรียน(แล้ว)ภาษาอังกฤษ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม (เรียนตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ตอนนี้เดือนกันยายนแล้ว และมีแนวโน้มจะเรียนต่อไปอีก)
He’s worked in the garden since 8 o’clock.
เขาทำงาน(แล้ว)ในสวนตั้งแต่ 8 โมงเช้า (ตอนนี้สิบโมงแล้ว มีทีท่าว่าจะทำต่อไป)
It has rained for three hours.
ฝนตก (แล้ว) เป็นเวลา 3 ชั่วโมง (และมีแววว่าจะตกต่อไปอีก)
A boy has played football since 3 o’clock.
เด็กชายเล่นฟุตบอล(แล้ว)ตั้งแต่ 3 โมง (ตอนนี้สี่โมงแล้ว น่าจะเล่นต่อถึงห้าโมงมั้ง)
อ่านต่อ

Present Perfect Continuous Tense

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ present perfect continuous tense



หลักการใช้

  • ใช้เหมือนกับ present perfect tense  ข้อที่ 1 เท่านั้น  (เหตการณ์ที่เกิดในอดีต ดำเนินมาถึงปัจจุบัน และต่อเนื่องไปในอนาคต) ทุกประการ แต่เป็นการเน้นว่าทำต่อเนื่อง
  • กริยาที่นำมาเติม ing ให้อ้างอิง present continuous tense ทุกประการเหมือนกัน

ตัวอย่าง เปรียบเทียบระหว่าง present perfect กับ present perfect continuous เพื่อให้เห็นความแตกต่าง

He’s worked in the garden since 8 o’clock.
เขาทำงานในสวนตั้งแต่ 8 โมงเช้า (อาจจะทำบ้าง นั่งพักบ้าง แต่ว่าเริ่มทำตั้งแต่ 8 โมง)
He’s been working in the garden since 8 o’clock.
เขาทำงานในสวนตั้งแต่ 8 โมงเช้า (ทำแบบไม่หยุดพักเลย ตั้งแต่ 8 โมงเรื่อยมา แบบว่าขยันมากๆ)
It has rained for three hours.
ฝนตกเป็นเวลา 3 ชั่วโมง (ประโยคนี้เป็นแบบธรรมดา ไม่เน้น)
It has been raining for three hours.
ฝนตกเป็นเวลา 3 ชั่วโมง  (ประโยคนี้ผู้เขียนอยากให้เห็นภาพว่า ฝนตกแบบไม่ขาดสายต่อเนื่องมาจนบัดนี้)  
อ่านต่อ

Past Simple Tense

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ past simple tense

Past Simple Tense ถือว่าง่ายที่สุดเลยเพราะประธานทุกตัวใช้กริยาช่องสองเหมือนกัน (เว้น was ใช้กับประธานเอกพจน์, were ใช้กับประธานพหูพจน์) ให้จำหลักสำคัญของ Tense นี้ไว้ว่า เป็นการเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีต และก็จบลงไปแล้วด้วย ไม่เกี่ยวข้องกับปัจจุบัน

1. ใช้เล่าเหตุการณ์ในอดีต ที่จะระบุเวลากำกับ หรือรู้กันดีว่ามันเกิดในอดีตนะ
  • เล่าเหตุการณ์ที่มีเวลากำกับ คำกำกับเวลาที่พบบ่อย ได้แก่
    – yesterday  เย็สเตอเด  เมื่อวาน
    – last + เวลา/ วัน/ สัปดาห์/ เดือน/ฤดู/  ปี เช่น
    last hour ลาสท เอาเวอะ ชั่วโมงที่แล้ว
    last night ลาสทไนท คืนที่แล้ว
    last Monday ลาสท มันเด จันทร์ที่แล้ว  last Tuesday อังคารที่แล้ว……
    last month ลาสท มันธ เดือนที่แล้ว
    last Christmas ลาสท คริสมัส คริสต์มาสที่แล้ว
    last Summer ลาสท ซัมเมอะ หน้าร้อนที่แล้ว Last winter ลาสท วินเทอะ หน้าหนาวที่แล้ว
    last year ลาสท เยีย ปีที่แล้ว
    – วินาที / นาที/ ชั่วโมง/ วัน/ สัปดาห์/ เดือน/ ปี + ago เช่น
    ten seconds ago เท็น เซเคินส อะโก สิบวินาทีที่แล้ว
    Five minutes ago ไฟฟ มินนิทส อะโก ห้านาทีที่แล้ว
    Three day ago ธรีเดส อะโก สามวันที่แล้ว
    Two weeks ago สองสัปดาห์ที่แล้ว
    one month ago หนึ่งเดือนที่แล้ว (เท่ากับ last month)
    four years agoฟอเยียส อะโก สี่ปีที่แล้วI saw Jane at the bank yesterday. ฉันพบเจนที่ธนาคารเมื่อวานI went to Jim’s party lastnight. ฉันไปงานเลี้ยงของจิมคืนที่แล้วWe studied math lastFriday. พวกเราเรียนคณิตวันศุกร์ที่แล้วHe bought a radio last month. เขาซื้อวิทยุเดือนที่แล้ว   อ่านต่อ

Past Continuous Tense

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ past continuous tense

หลักการใช้


1. ใช้เล่าเหตุการที่กำลังเกิดขึ้นในอดีต เช่น
เมื่อวานนี้ฉันไปเที่ยวสวนสาธารณะแล้วก็เห็นอะไรหลายๆอย่างดังนี้
เมื่อวานครอบครัวของฉันไปสวนสาธารณะมา ฉันกำลังกินอาหารว่าง แม่กำลังอ่านหนังสือพิมพ์ คุณพ่อกับน้องชายกำลังเล่นฟุตบอล ส่วนน้องสาวกับเพื่อนๆของเธอกำลังเล่นวอลเลย์บอล  หมาของฉันกำลังนอนหลับอยู่ใต้ต้นไม้ มันเป็นวันที่สดใสจริงๆ
My family went to the park yesterday. I was eating some snacks. My momwas reading a newspaper. My dad and my brother were playing football. My sister and her friends were playing volleyball. My dog was sleeping under the tree. It was a really beautiful day.
หรือถ้าจะบอกว่าคนนั้นกำลังทำอันนี้ คนนี้กำลังทำอันโน้น คนโน้นกำลังทำอันนู้น ก็ได้ เช่น
was eating while it was raining.
ฉันกำลังกินข้าว ขณะที่ฝนกำลังตก
As they were reading, I was sleeping.
ขณะที่พวกเขากำลังอ่านหนังสือ ฉันกำลังนอนหลับอยู่
We were listening to the radio as he was watching TV?
พวกเรากำลังฟังวิทยุ ขณะที่เขากำลังดูทีวี
What were you doing while I was playing football?
คุณกำลังทำอะไรอยู่ ขณะที่ฉันกำลังเล่นฟุตบอล
อ่านต่อ 

past perfect tense

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ past perfect tense

หลักการใช้ Past Perfect Tense เป็นอีกหนึ่งตัวที่สร้างความปวดหัวให้กับผู้เรียน เพราะว่าเป็นอีกหนึ่ง Tense ที่มีสองเหตุการณ์มาพ่วงกัน และสองเหตุการณ์ก็ใช้ Tense ต่างกันอีกด้วย แต่ก็ไม่ยากเกินไปครับ ถ้าสร้างความเข้าใจกับมันดีๆ

Past Perfect Tense (Tense อดีตสมบูรณ์)
Past  พาสท= อดีต
Perfect  เพอเฟ็คท = สมบูรณ์
คำว่าสมบูรณ์ใน Tense นี้หมายความว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจบลงไปแล้ว หรือสิ้นสุดแล้วอย่างสิ้นเชิง ต่างกับ Present Perfect Tense ซี่งกล่าวถึงเหตุที่ดำเนินมาถึงปัจจุบันและจะดำเนินต่อไปในอนาคต (ถ้าไม่เข้าใจอ่านทวนอีกรอบ ถ้าไม่เข้าใจอีกเดี๋ยวค่อยดูตัวอย่าง และจินตนาการตามแล้วกัน) 

past perfect continuous tense

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ past perfect continuous tense

หลักการใช้


ใช้บอกเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นแล้ว เป็นระยะเวลาหนึ่ง แล้วมีอีกเหตุการณ์เข้ามาแทรกกลางคัน
หมายความว่ามันมีสองเหตุการณ์ (สอง Tense ) และต้องใช้ตามนี้ คือ
  • เหตุการณ์ที่เกิดก่อนและกำลังเกิดขึ้นอยู่เป็นระยะเวลาหนึ่ง (ใช้ Past Perfect Continuous Tense)
  • เหตุการณ์ที่เกิดทีหลัง (ใช้ Past Simple Tense)
**** ให้นักเรียนท่องว่า พาส เพอเฟ็ค คอน (past perfect con) เกินก่อน พาสซิม (past sim) เกิดหลัง
(เป็นครั้งที่ 3 ที่ past simple เป็นพระรองเพราะเกิดหลัง จึงสรุปได้ว่า ถ้ามีสองเหตุการณ์ในอดีตเมื่อไหร่ past simple ต้องเกิดหลังเท่านั้น) อ่านต่อ

So และ Such

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ So และ Such

So … that, Such … that


โดยปกติ เราจะใช้ so … that, such … that: ในกรณีต่อไปนี้

a) ใช้แสดงความจริง (โดยปกติมักมีผลสืบเนื่องตามมา)

  • M’s feet are big.
    (เป็นความจริงที่เท้าของเอ็มใหญ่).
  • M’s feet are so big that she can’t find shoes her size.
    (เน้นย้ำว่าเพราะเท้าของเอ็มใหญ่จึงทำให้หารองเท้าที่พอดีไซส์ไม่ได้)

b) ใช้แสดงความรู้สึกหรือความเห็นว่ามาก…เสียจน (มากจริงๆ)

  • There are such heavy boxes that I can hardly lift them up
    (มันเป็นกล่องที่หนักเสียจนยกแทบไม่ขึ้น).  อ่านต่อ

Infinitive with and without to

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Infinitive with and without to


Infinitive without “to” คือกริยาช่องที่ 1 ที่ไม่มี to       นำหน้า  มีลักษณะการใช้คือ
1. ใช้ตามหลังกริยาช่วย (auxiliary verb) จำพวก can, could, do, did, may, shall, should, will, would, must, need, dare etc. เช่น
– You must come with us.  (คุณจะต้องไปกับพวกเรา)
– Did you hear a noise?      (คุณได้ยินเสียงนั่นหรือเปล่า)
– He daren’t leave her.      (เขาไม่กล้าพอที่จะปล่อยเธอไป)
2. ใช้ตามหลังกริยาที่แสดงการรับรู้, การสังเกตเห็น เช่น
– I heard him leave the house.         (ฉันได้ยินสียงเขาออกจากบ้านไป)
– She saw him take money.         (เธอเห็นเขาหยิบเงินไป)
* แต่ถ้าใช้ในประโยค Passive Voice จะต้องมี “to” นำหน้า เช่น
-He was heard to leave the house.            (ได้ยินว่าเขาออกจากบ้านไป)
– He was seen to take money.           (เขาถูกเห็นว่าหยิบเงินไป )  อ่านต่อ

Gerund

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ gerund


 Gerund คือ คำกริยา + ing หรือ v-ing
    Gerund มีรูปร่างหน้าตาเหมือนกับ present participle แต่ทำหน้าที่ต่างกัน นั่นคือ present participle ทำหน้าที่เป็น ‘predicative adjunct’ และ ‘คุณศัพท์’ ส่วน
gerund ทำหน้าที่เป็น ‘คำนาม’
    เมื่อ gerund เป็น ‘คำนาม’ gerund จึงทำหน้าที่ได้ดังต่อไปนี้
    1. ใช้เป็นประธานของประโยค

    2. ใช้เป็นกรรมของบุพบท

    3. ใช้เป็นกรรมของคำกริยา vt

    4. ใช้ตามหลัง verb to be เพื่อแสดงตัวตนของประธาน (subjective comple-ment) 
 อ่านต่อ